ประวัติสามพันโบก

แกรนด์แคนย่อยเมืองสยาม คือแก่งหินงามสามพันโบก

นายเรืองประทิน  เขียวสด  ครูโรงเรียนบ้านสองคอนซึ่งเป็นในผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว  ระบุว่า  
สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา  
ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  
เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่  สูงประมาณ  3-7  เมตร  กว้างประมาณ  20  เมตร  

แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ณ เส้นรุ้งที่ N.15 องศา 47.472 ลิปดา และเส้นแวงที่ E.105 องศา  23.983 ลิปดา ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม 

แก่งสามพันโบก  เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี

เปิดตำนานสามพันโบก

จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง  ทุ่งหินเหลื่อม  หินหัวสุนัข  และปู่จกปู

                ตำนานหินหัวสุนัข   ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง  มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา  บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก  จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ  กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด

                ตำนานหาดหินสี  หรือทุ่งหินเหลื่อม  ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว  ตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา  คือหินแต่ละก้อน  จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน  มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร  กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่  หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี  จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค  ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่  ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น  จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง  ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ  จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่

                ทุ่งหินเหลื่อม  ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ  จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย  ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร  และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ  ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง

                ตำนานปู่จกปู  หลุมโบกที่เกิดขึ้นมากมาย  ก่อเกิดเรื่องเล่า  ปู่พาหลานมาจับปาบริเวณถ้างต้อน  (ต้อนเป็นเครื่องมือดักปลาของคนอีสาน)  บังเอิญไม่สามารถจับปลาได้จึงใช้มือล้วงปูหินริมน้ำโขงจนเกิดโบกจำนวนมาก

                สามพันโบกในอดีต   เป็นแหล่งที่ชาวบ้านมาจับปลาในหน้าแล้งตามหลุมแอ่ง  โบก และสระบุ่ง  เนื่องจากลุ่มแอ่งจำนวนมากมายเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวนมากที่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงใช้สำหรับการดำรงชีพ

หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

ผาหินศิลาเลข   ร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจ ในแถบอินโดจีน  ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่าง หลี่ผี  เวียงจันทน์อยู่ก่อนถึงหาดหงส์  ที่ฝรั่งเศสแกะสลักตัวเลขที่หน้าผาหิน  สำหรับบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง  เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ  เนื่องจากหน้าที่น้ำหลากบริเวณนี้จะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก

การตักปลาที่บ้านสองคอน  ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ  คือประเพณี ตักปลาในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่นตั้งใจมาดูเป็นพิเศษ  คือการ “ตักปลา” หน้าปากบ้อง  เพราะเป็นการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่นๆ  ไม่ต้องใช้เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห  แต่ใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคล้ายสวิงจับแมลงขนาดใหญ่คอยตักปลาที่วายจากเวินน้ำกว้างจะแหวกว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่ได้ร่วมกันจัดงาน  “เทศกาลตักปลา”  ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์  ของทุกปี  มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก  การท่องเที่ยวทางน้ำในช่วงเวลานี้นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวเพื่อชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตพื้นบ้านชมการประมงแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจ  ณ  ตำบลสองคอนและตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธาน

               

 

 

Free Web Hosting